ไม่ต้องซื้อเสื้อใหม่ เมื่อ Zara  H&M Uniqlo รับ “ซ่อมเสื้อ”

ที่แล้วมา H&M Uniqlo และ Zara มักจะกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อเสื้อผ้าใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง วันนี้แบรนด์ทั้ง 3 โดนกดดันจากรัฐบาลรวมทั้งผู้บริโภคที่ใส่ใจโลกให้ทำธุรกิจลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม จึงสนับสนุนให้ลูกค้าซ่อมแซมเสื้อผ้าเก่าแทนที่จะทิ้งแล้วซื้อใหม่ เพื่อช่วยลดขยะและการใช้ทรัพยากรที่จะต้องนำมาผลิตเสื้อผ้าใหม่

 

Zara : เสนอบริการ “Zara pre-owned” ทั้งในห้างและออนไลน์ที่ช่วยให้ลูกค้าซ่อม ขายต่อ หรือบริจาคเสื้อผ้า Zara ที่ใช้แล้ว โดยเปิดตัวที่แรกเมื่อปีที่แล้วในอังกฤษ จากนั้นขยายไปฝรั่งเศส เยอรมันและสเปนในปีนี้และวางแผนให้บริการตลาดหลักทั่วโลกภายในปี 2025, 

 

โดยในอังกฤษ Zara จะดูแลเรื่องของการรับเสื้อผ้าและการจ่ายเงินให้กับลูกค้า ส่วนเรื่องงานซ่อม Zara ใช้

Third-party network ดูแล โดยชาร์จค่าบริการซ่อมรู £10 

 

Uniqlo: เปิดตัว  “Re.Uniqlo Studios” ทั่วโลก โดยมีสาขาที่ให้บริการในอเมริกา 5 สาขา คิดค่าบริการ $5 สำหรับงานซ่อมง่ายๆ

 

H&M :  Launch ศูนย์ซ่อมใน 7 เมือง เช่นที่ปารีสและสตอกโฮล์ม นอกจากนี้ยังมี online repair tutorials และขายแผ่นปักลวดลายเพื่อกระตุ้นลูกค้าซ่อมเสื้อผ้าด้วยตัวเอง

 

“Fast Fashion ทั่วโลกถูกกดดัน”

จากงานวิจัยขององค์กรไม่แสวงหากำไร Ellen MacArthur Foundation ในประเทศอังกฤษพบว่า มีเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มกว่า 92 ล้านตันถูกฝังลงดินทุกปี เสื้อผ้า fast-fashion โดยเฉลี่ยใช้ไม่ถึงปีก็ถูกทิ้ง

 

เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาสภายุโรปเรียกร้องให้บริษัท fast-fashion ที่ดำเนินกิจการในยุโรปต้องเพิ่มมาตราฐานสิ่งแวดล้อมให้สูงขึ้น และกำลังร่างฏหมายใหม่มากกว่า 12 ฉบับบังคับให้แบรนด์เหล่านี้พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมทั้งต้องจัดการกับขยะที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ของตัวเอง เหล่า

fashion brand เลยตื่นตัวนำเสนอบริการ recycle หรือบริการซ่อมแซมต่อวงจรชีวิตให้กับเสื้อผ้า และบริการเหล่านี้จะมีส่วนทำให้ยอดขายลดลงอย่างแน่นอนเพราะลูกค้าซื้อของน้อยลง

 

ถึงยากก็ต้องทำ”

สำหรับแบรนด์หรูอย่าง Hermès และ Louis Vuitton การซ่อมสินค้าจัดเป็นบริการสำคัญที่ขาดไม่ได้ และลูกค้าก็เต็มใจที่จะจ่ายหลายพันดอลล่าร์ ถ้ามันจะทำให้ของหรูๆของพวกเขากลับมาดูดีอีกครั้ง

 

แต่มันไม่ง่ายสำหรับ Fast Fashion ที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมลูกค้าให้มาซ่อมเสื้อผ้าของตัวเอง เนื่องจากสินค้าของตัวเองราคาถูกอยู่แล้ว แถมยังต้อง scale ดีมานด์และซัพพลายให้มากพอจนถึงจุดคุ้มทุนหรือได้กำไรจากบริการนี้



“โอกาสใหม่ :Cloth Repair Economy”

Warren Buffet เคยว่าไว้ “Capitalism is creative destruction” เมื่อธุรกิจนึงถูกทำลายลงจะมีธุรกิจใหม่เกิดขึ้นเสมอ เช่น สมาร์ทโฟนทำลายธุรกิจหนังสือพิมพ์และนิตยสาร แต่มันก็สร้างธุรกิจสำนักข่าวออนไลน์รวมทั้ง Creator Economy

 

ธุรกิจแฟชั่นก็เช่นกัน การซ่อมเสื้อผ้าทำให้ธุรกิจแฟชั่้นได้รับผลกระทบทางลบ แต่ก็เกิดธุรกิจซ่อมแซมเสื้อผ้าขึ้น

 

The Seam เป็น digital platform ในประเทศอังกฤษที่เหมือน “Uber เวอร์ชั่นซ่อมสินค้าแฟชั่น” คอนเนค consumer หรือธุรกิจกับร้านรับซ่อมและทำความสะอาดสินค้า fashion ไม่ว่าจะเป็น ซ่อมหรือแก้เสื้อผ้า ทำความสะอาดและซ่อมรองเท้า ซ่อมชุดออกกำลังกาย ทำความสะอาดและซ่อมกระเป๋าหรู หรือจะปักลาย โดย The Seam จะเก็บค่าธรรมเนียม 20% ของค่าซ่อม

 

ธุรกิจไปได้สวยทีเดียว Demand โต 20% เดือนต่อเดือนขี่กระแสซ่อมเสื้อผ้าที่กำลังได้รับความนิยม โดยสินค้าที่นำมาซ่อมมีมูลค่าเฉลี่ย £80 ขึ้นไป มีหลายแบรนด์แฟชั่นที่ไปพาร์ทเนอร์กับ The Seam เพื่อที่จะได้ไม่ต้องสร้างบริการรับซ่อมสินค้าด้วยตัวเอง เพราะการหาช่างฝีมือดีจำนวนมากมายไม่ใช่เรื่องง่าย

 

คนตัวเล็กตัวน้อยก็สร้างธุรกิจได้เองเหมือนกัน อย่าง Brinck ที่เปิด home studio รับซ่อมเสื้อผ้าโดยคิดค่าบริการตั้งแต่ £15 ถึง £200 ต่อจ้อบ เธอได้รับออเดอร์จากทั้งในอังกฤษ อเมริกา และฮ่องกง อาชีพรับซ่อมเสื้อผ้ากำลังขาดแคลนเนื่องจาก supply ไม่พอกับ demand แถมจะเป็นช่างฝีมือเนียบก็ต้องใช้เวลามากในการฝึกฝนทักษะ 

 

เขียนจบแล้ว ผมเตรียมลงคอร์สเรียนซ่อมเสื้อผ้าเลยครับ ฝีมือเทพๆนี่รวยไม่รู้เรื่อง

 

 

 

Sustainable Development Goals : Climate Action, Responsible consumption and production 

writer : ยอด Co-Founder, Goodwill Compounding

source : wall street journal

photo credit : CIO Bulletin

Scroll to Top